แม้ว่าความเป็นจริงเสมือน (Vertual Realiry - VR) จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมส่วนใหญ่แล้ว แต่การนำโซลูชันและเทคโนโลยีอื่นๆมาใช้ร่วมด้วยจะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสูดและพร้อมแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนได้อย่างทันทีเช่นการนำเทคโนโลยี Virtual cardboard engineering มาใช้ร่วมด้วย

Thomas Schüler, โธมัส ชูเลอร์ ผู้ก่อตั้งและหนึ่งในกรรมการผู้จัดการของบริษัทซอฟต์แวร์ Halocline ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง Osnabrück, Germany กำลังมองหาวิธีที่จะปฏิวัติประสบการณ์ของผลประโยชน์เหล่านี้ จากทีมงานจำนวน 37 คนของเขา เขาได้พัฒนาโซลูชันซอฟต์แวร์ VR หรือที่เรียกว่า Halocline ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้วางแผนการผลิตและการประกอบโดยตรง: 

"Halocline มอบโรงงานเสมือนจริงแก่ผู้ใช้ที่พวกเขาสามารถเข้าถงได้โดยใช้แว่นตา VR แบบเดิม สิ่งพิเศษเกี่ยวกับโรงงานเสมือนจริงแห่งนี้คือพื้นที่ทำงานทั้งหมดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาด้วยเครื่องมือการวางแผนที่ใช้งานง่าย เราได้พัฒนาตัวแก้ไขสำหรับความเป็นจริงเสมือน ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างวัตถุต่างๆ เช่น ชั้นวาง โต๊ะ และโต๊ะทำงานในโลกเสมือนจริงได้” Halocline ยังทำให้สามารถเปลี่ยนไฟล์การออกแบบจากโปรแกรมอื่นให้เป็นจริงได้ และที่นี่เองที่ item Engineeringtool ได้แสดงบทบาทที่สำคัญ

Cardboard engineering taken to a whole new level

ซอฟต์แวร์ของ Halocline ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์สามส่วนที่แตกต่างกันซึ่งมุ่งเน้นอย่างชัดเจนที่กระบวนการทำงานของผู้วางแผนการผลิต – “Assembly” “Layout” และ “Performance” โมดูลทั้งหมดใช้งานง่าย: “นักวางแผนการผลิตส่วนใหญ่ที่เราพบไม่ได้ทำงานกับซอฟต์แวร์ CAD ทุกวัน อย่างแรกและสำคัญที่สุด เราต้องการให้พวกเขามีตัวเลือกในการสร้างข้อมูล 3 มิติอย่างง่ายดายและทดลองใช้เวิร์กโฟลว์ในพื้นที่สามมิติ” Schüler อธิบาย 

The assembly module แสดงภาพข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกป้อนและนำเข้า ทำให้สามารถวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่วางแผนจะผลิตได้ตามขนาดจริงซึ่งช่วยให้ Design engineers และ Production engineers วางแผนการผลิตร่วมกันเพื่อตัดสินใจและปรับเปลี่ยนลำดับการผลิต/ประกอบผลิตภัณฑ์ได้ตลอเวลา 

ด้วย Layout product area ทำให้เราสามารถแบ่งลำดับขั้นตอนการทำงานได้สองขั้นตอน อย่างแรกคือการวางแผนคร่าวๆ เบื้องต้นสำหรับโต๊ะทำงานประกอบและและอย่างที่สองคือการวางแผนเรื่องอุปกรณ์โรงงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำ Virtual carboard engineering มาใช้ในรูปแบบหนึ่ง

Halocline & item | A cooperation for the virtual production planning

Benefits of virtual cardboard engineering

เป็นที่ทราบกันดีว่า Cardboard engineering แบบเดิมนั้นพัฒนามาจากสภาพแวดล้อมการผลิตแบบลีนโดยใช้แบบจำลอง Cardboard สำหรับจำลองรูปแบบการทำงานในแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับการยศาสตร์ (Ergonomic) อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของ Cardboard engineering แบบเดิมคือระยะเวลาที่ใช้ค่อนข้างมาก และการจำลองให้เสมือนจริงนั้นต้องใช้พื้นที่ใช้งานเยอะ เนื่องจากโมเดลอยู่ในรูปแบบ 1:1 และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง เมื่อพูดถึงการก่อสร้างในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เทคโนโลยี Halocline มีความเหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด และเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของความเป็นจริงเสมือนในอุตสาหกรรม แม้แต่การสร้างแบบจำลองของพื้นที่การผลิตทั้งหมดก็ต้องการเพียง 4 ตารางเมตรในโลกแห่งความเป็นจริงสำหรับการเคลื่อนไหวท่าทางที่เหมาะสม และ3D boxes ที่ใช้แทน Cardboard นั้นก็ง่ายต่อการผลิตและการจัดวางในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง หรือแม้แต่สำหรับผู้ใช้ใหม่ก็สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย


"The three-dimensional boxes that are used as a substitute for cardboard ones in real cardboard engineering are easy to produce and position in the virtual reality environment, even for newcomers."


ความเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งระหว่าง item และ Halocline สะท้อนให้เห็นได้จากความเข้ากันได้ดีในของ item Engineeringtool ที่สามารถรองรับการออกแบบดิจิทัลอย่างละเอียดได้โดยใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยใน Halocline และหากผลลัพธ์ของการวางแผนเสมือนจริงนี้ถูกนำไปใช้กับ ผลิภัณฑ์ของ item รุ่น Profile Tube System D30 จะทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้นโดยสามารถดาวน์โหลดคู่มือการประกอบฉบับสมบูรณ์จาก item Engineeringtool และยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ได้อย่างง่ายดายจนถึงขั้นตอนสุดท้าย การผสมผสานระหว่าง Halocline กับ item ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่สำคัญในแง่ของประสิทธิภาพ เวลา และต้นทุนในท้ายที่สุด

After workflows have been tested at the virtual workstations, they can be analysed in detail in recordings. 

Halocline and the item Engineeringtool – strong partnership for virtual reality in industry

การวางแผนโดยละเอียดใน Layout Module ไม่เพียงแต่ใช้กล่องที่เล็กกว่าเท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นที่จับต้องได้ เช่น ชั้นวางและโต๊ะทำงานด้วย ซึ่งผู้ใช้สามารถสร้างสิ่งเหล่านี้เองหรือ import จาก item Engineeringtool สู่ Halocline ในรูปแบบของข้อมูล 3 มิติ แม้ว่าการลิงก์อัตโนมัติของ item Engineeringtool และ Halocline จะยังคงดำเนินการอยู่ แต่ผู้ใช้จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการใช้ทั้งสองโปรแกรมร่วมกัน ซึ่งหมายความว่าการออกแบบจาก item Engineeringtool เช่น Material supply rack สามารถนำเข้าเป็นไฟล์ STEP ลงใน Halocline และสามารถสัมผัสประสบการณ์เสมือนจริงได้ โดยผลลัพธ์ที่ได้คือข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เช่นผู้ใช้สามารถสัมผัสโครงสร้างที่พวกเขาเพิ่งออกแบบได้ในลักษณะการสั่งการโดยคำพูด 


ในส่วนของ Performance product area การทำงานกับชั้นวางวัสดุที่ออกแบบจะได้รับการทดสอบแบบโต้ตอบ ทำให้เกิดการทดสอบจริงแบบเสมือนจริงอย่างมีประสิทธิภาพ การทดสอบเหล่านี้สามารถบันทึกได้ด้วยการเคลื่อนไหวที่แสดงผ่านโมเดล 3 มิติของผู้ใช้เอง


ในอนาคต จะสามารถถ่ายโอนการออกแบบโดยอัตโนมัติจาก item Engineeringtool ไปยัง Halocline และในทางกลับกัน นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะจัดทำ item แคตตาล๊อคใน Halocline ด้วย


“ฉันสามารถวางแร็คจาก item ที่ฉันต้องการในโรงงานเสมือนของ Halocline และเพิ่มตัวบรรทุกและวัสดุตามความเหมาะสม และฉันสามารถตรวจสอบการยศาสตร์ของเวิร์กโฟลว์ทั้งหมดได้” Schüler กล่าว ในระหว่างการจำลองเวิร์กโฟลว์ ถ้าผู้ใช้สังเกตเห็นว่าการวัดต้องการการปรับปรุงเพิ่มเติม พวกเขาสามารถทำการเปลี่ยนแปลงแบบกำหนดเองกับการออกแบบในตัวแก้ไขของ Layout module จากนั้นพวกเขาสามารถส่งการปรับปรุงเหล่านี้ไปยัง item Engineeringtool ซึ่งพวกเขาสามารถส่งคำสั่งซื้อได้อย่างง่ายดาย รายละเอียดในการออกแบบที่ครอบคลุมไปถึงการออก BOM โดยอัตโนมัติสามารถสั่งได้ด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว การถ่ายโอนข้อมูลเหล่านี้จะทำได้ง่ายขึ้นในอนาคตด้วยฟังก์ชันที่ใช้งานง่าย นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะจัดทำรายการแอปพลิเคชัน item แคตตาล๊อคใน Halocline มุ่งเน้นไปที่การยศาสตร์และเครื่องมือออนไลน์ที่ใช้งานง่าย ซึ่งให้พนักงานมีอิสระในการออกแบบในระดับสูงเพื่อสร้างโรงงานแห่งอนาคต Halocline และ item มีประโยชน์หลักในแง่ของความเร็วและประสิทธิภาพ เรารอคอยที่จะทำงานร่วมกันต่อไป!